๒๔๑. โชคดีที่เกิดเป็นชาวสยาม เงินน้อยของหลวงพ่อคูณ บุญคือการเล่าเรียนพระไตรปิฎก

๒๓.๙.๒๕๖๒

ข้ออรรถ ข้อธรรม

ในภาพถ่ายที่อนุสาวรีย์ “ลินคอล์น”
ผมชอบ “วิถีการต่อสู้” ของประธานาธิบดีท่านนี้
เป็น Hero ในดวงใจผม คล้าย “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช”

“โชคดีที่เกิดเป็นชาวสยาม”

อุทิส ศิริวรรณ

——
สรุปว่า “แต่ละชีวิต”
มี “โชคดี” ไม่เหมือนกัน
สั้นๆ ง่ายๆ
และทุกชีวิต ก็เหมือนกัน
ต้อง “ต่อสู้” ด้วยมันสมอง สองมือ
กว่าจะได้มาซึ่ง “ผลงาน”

——–

 
ค่อนวัน
ผมนั่งรับฟังเรื่องราว
การต่อสู้ชีวิต และโชคชะตา
ของหญิงตัวคนเดียว
เจ้าของร้านอาหารไทย
Thanya Thai Cuisine
ก่อนจากกัน
เธอร่วมทำบุญ ๒๐ บาทไทย
พนมมือ “สาธุ”
 
ผมย้ำกับเธอว่า
อยาก “รวย” จริง
ให้หมั่น “ทำทาน”
เธอตอบว่า
เธอโอนเงินให้ “แม่”
ใส่บาตรทุกวัน
 
ผมบอกนั่นแหละคืออานิสงส์
บุญไม่ใช่เงินมากหรือน้อย
แต่อยู่ที่ “อธิษฐาน” เป็น
 
เธอบอกเล่าความจริงจากใจว่า
สังคมอเมริกา
๑. มีสภาพแวดล้อมด้านทำเล ที่ตั้ง
การทำมาหากิน บรรยากาศของคนร่วมงาน
ที่อารีอารอบต่อกัน
๒. ไม่มี Drama พฤติกรรม อีแอบ
แอบซุบซิบ แอบนินทา แอบจับผิด
แอบหมั่นไส้ แอบอิจฉา แอบริษยา
แอบใส่ร้าย แอบใส่ความ กันลับหลัง
 
เธอสรุปว่า
อยู่เมืองนอก
รู้สึกว่า “โชคดี”
ไม่มีใครดูหมิ่น เหยียดหยาม
ใครทำ ใครได้
ขยันมาก ก็ได้เงินมาก
ไม่มีใครหมั่นไส้ใคร
 
สำคัญที่สุด
“เงินทอง” หาได้ทันที
อยู่เมืองไทย
งานหายาก
เงินหายาก
คนที่จริงใจ
ก็หายาก
 
ใดๆ ผมเห็นว่า
แล้วแต่ “บุญ” จัดสรร
อย่างผม
วงการผม
ไม่ได้เจอคน Drama
 
—–
 
ผมเป็นคน “โชคดี”
แต่ไหนแต่ไรมา
 
แม้ว่าผมเป็นคนโทสะจริต
โมโหร้าย
โกรธคนง่าย
คล้าย “สตีฟ จ็อบส์”
ที่ใครทำงานด้วยยาก
 
แต่ “ผม” ทำงานแล้ว เกิด “ผลงาน” จริง
ในนาม “อุทิส ศิริวรรณ”
จะอยู่ในตำแหน่งใด สถานะใด
ผมก็สร้าง “งานวิชาการ” ได้
 
ผมจะเป็น
สามเณร
ดร.
ศาสตราจารย์ ดร
นาย
หรือ
อุทิส
 
ก็ยังคงมี
ชีวิตเพื่องาน
งานเพื่อสร้างคุณค่า
แก่พุทธศาสนา
 
และ “ทน” แรงเสียดทาน
ได้ดียิ่งนัก
 
อธิการบดีมหาวิทยาลัยรัฐ
๗ คน คุณหญิง ๑ คน
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเอกชน ๑ คน
รวม ๙ คน รุมสกรัมผม ๑ คน
ต่อสู้ ต่อกรกันแล้ว
 
สุดท้าย “ศาล”
เห็นว่าเป็นกลุ่มคนอาสัตย์อาธรรม์
เป็นคนจำพวก “อีแอบ”
จริง ๆ ตามหลักฐานที่ผมนำเสนอ
 
ผม “ยุติ” เกมไว้ที่ ปปช. และอัยการ
ในเกมที่ผม “เหนือกว่า”
ให้ขบคิดว่า ผมไม่กดดันให้คน “จนตรอก”
 
บางราย “ดื้อรั้น” ก็ต้องตัดสินกันถึง ๓ ศาล
 
พวกอีแอบ
รู้ “เพลงดาบ” ผมดี
ผม “คนจริง”
คงไม่ต้อง “อวดอ้าง” ใดๆ
 
http://www.druthit.com/งานวิจัย/
 
ลงผลงานไว้บางส่วน
 
เป็นผลงานที่เป็นอนุสรณ์ชีวิต
กับเหล่าศิษยานุศิษย์
มหาวิทยาลัยหลัก ๒ แห่ง
บูรพา กับสวนดุสิต
ที่จริงมากกว่านั้น ลงไว้แค่ ๕๐ ชีวิตเศษ
 
กว่าจะสร้างคนให้จบปริญญาโทได้
ก็ใช้เวลาอยู่นานหลายปี
 
กว่าจะทำ “ตำรา” ให้พระเณร
วัดวาอารามต่างๆ ยอมรับกันได้ในวงการ
ก็ถูกหมั่นไส้ ถูกอิจฉาริษยา
ถูกใส่ร้าย ถูกใส่ความ
ถูกด่าลับหลัง สารพัด
จากชาววัดวาอารามนี่แหละ
ไม่ใช่คนอื่นไกล
 
แต่ผมไม่เหมือนคนอื่น
อดทน อดกลั้น
คำด่า ได้ดี
 
ไม่ใช่ไปยึดคติว่า
“ทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย”
 
ถ้า “เชื่อ” หลวงวิจิตรวาทการ
ก็ไม่เกิด “ผลงาน” ตามลิงก์ข้างบ่างนี้
 
ผมเล่าเป็น “แง่คิด” ว่า
การใดที่เป็นไปโดยชอบ ประกอบโดยธรรม
ให้ทำทันที ทำทันใด ทำทันใจ
อย่าฟังเสียง “คนหมั่นไส้”
คนที่มาบอก มาเตือน
ต้องเอาเงินมาให้ใช้
เอาเงินมาช่วย
จึงจะชื่อว่า “รักและสนับสนุน” กันจริงๆ
 
ไม่ใช่ทำตัวเป็น “โจทก์”
ทำตัวเป็น “ผู้พิพากษา” เสียเอง
 
ต้อง “แยกแยะ” ด้วย
ไม่ใช่คิดนึกเอาเอง
 
บ้านเมืองมีขื่อมีแป จำไว้
 
http://www.druthit.com/ตำรา/
 
——
 
ผมสังเกตว่า
รายที่ไม่ทำบุญเป็นตัวเงิน
แต่ทำเป็น “ความคิดอ่าน”
ก็มีจำนวนหนึ่ง
 
ผมว่าก็ได้บุญกุศลเช่นกัน
 
ทีมผมบางคน
อดตาหลับ ขับตานอน
ทุ่มเทอุทิสชีวิต
มุ่งมั่น บากบั่น พากเพียร พยายาม
ใช้เวลา ใช้สุขภาพ ใช้ “สายตา”
ทำงานรับใช้พระพุทธศาสนา
ใช้ “มันสมอง”
ก็ได้บุญคือ “เวยยาวัจจะ”
 
และผมย้ำหลายครั้งว่า
สุดท้ายจะได้ “ผลงาน”
 
ผมเป็นคนไม่ “อีแอบ”
เอา “ผลงาน” คนอื่น มาเป็นของตัว
 
ผมสังเกต
คนที่ร่วมทำบุญทำทานกับผมด้านต่างๆ
คนที่ควัก คือคนที่เงียบ
คนที่เสียงดัง คือคนที่ไม่จ่าย
 
สั้นๆ ง่ายๆ
 
แต่จะทำหรือไม่ทำ
ก็แล้วแต่เจ้าตัว
เป็นสำคัญ
 
——
 
หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ
สมัยผมไปหา
ผมยื่นปัจจัยแบงก์ละ ๑ พันบาท
อีกใบคือแบงก์ใบละ ๒๐ บาท
ปรากฏว่า หลวงพ่อคูณ
เลือกหยิบแบงก์ ๒๐ บาท
ไม่หยิบแบงก์พันบาท
 
——
 
ผมฟัง “ความยากลำบาก”
กว่าจะได้ใบเขียว ของเธอแล้ว
ผมคิดถึงคำว่า “โชคดี”
 
——
 
ส่วนตัวผม
คิดเห็นส่วนตัวว่า
นับว่า “ผม”
โชคดีอย่างที่สุด
ที่ได้เกิดใต้ร่มบรมโพธิสมภาร
พระเจ้าอยู่หัวบุรพกษัตริย์
ที่ทรงลุกขึ้นเป็นผู้นำ
เสนาอำมาตย์และตัวแทนไพร่ฟ้าสาขาอาชีพต่างๆ
 
พวกเราโชคดี
เกิดมาก็พานพบ
พระพุทธศาสนา
 
พี่น้องร่วมชาติที่นับถือศาสนาอื่นๆ
ก็โชคดีได้พบ โบสถ์ สุเหร่า เทวสถาน
ทั้ง คริสต์ ฮินดู มุสลิม ซิกข์
ไม่นับขงจื๊อ และเต๋า
ก็มี “ศาลเจ้า”
 
ชาติสยามเรามี
พระมหากษัตริย์
ทรงเป็น “พุทธมามกะ”
และทรงเป็น “เอกอัครศาสนูปถัมภก”
 
—–
 
เท่าที่ผมประมวลความคิดอ่าน
จากหลักฐานที่บันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์
บรรพบุรุษของคนไทยแต่โบราณ
ได้นับถือพระพุทธศาสนาเป็นส่วนมาก
ได้ทำนุบำรุงพระภิกษุสามเณรวัดวาอารามต่างๆ
ที่ช่วยกันสืบต่อคำสอนพุทธศาสนา
หลักฐานที่พบเห็นคือ “หอไตร” ประจำวัด
ที่ผมพบเห็นจนชินตาก็
ข้างพระอุโบสถวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
วัดอัปสรสวรรค์ หอไตรงดงามมาก
วัดใหญ่สุวรรณาราม เพชรบุรี
วัดระฆังโฆสิตาราม
วัดสระเกศ
 
หอไตร เป็นที่เก็บรักษาคัมภีร์พระพุทธศาสนา
และเป็นที่ค้นคว้าคำสอนโบราณจารึกไว้ในอักษรขอม
อันประกอบด้วย พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา
อนุฎีกา คัณฐี โยชนา และสัททาวิเสส
ที่เป็นภาษาบาลีและภาษาไทย
 
ผู้สร้าง “ตำรับตำรา” คือ “คัมภีร์” เหล่านี้
ตั้งต้นแต่ “พระมหากษัตริย์ไทย” ลงมา
จนถึงเจ้านาย และราษฎร ผู้มีจิตสัทธาทั้งหลาย
 
—–
 
ส่วนตัวผมเห็นว่า
คัมภีร์เหล่านี้
เป็น “มรดกโลก” คือ World Heritage
ไม่แตกต่างจากมรดกโลก
อย่างมหาสถูปสาญจิ
กลุ่มมหาเจดีย์พุทธคยา
เมืองโบราณพระนครศรีอยุธยา
วัดโทได เมืองนารา
เป็นต้น
 
——
 
คัมภีร์โบราณเหล่านี้
มีอายุนับพันปี
จดจารจารึกไว้ในใบลาน
นานวันก็จะลบเลือน สูญหายไป ตามธรรมชาติ
 
ควรที่ มหาเถรสมาคม มจร มมร เป็นต้น
จะได้จัดทำโครงการวิจัยขนาดใหญ่
ใช้ AI Technology และ Big Data
Quantum Computing Technology
อาจขอความร่วมมือกับทางวัดในพม่า
มหาวิทยาลัยในโตรอนโต ที่แคนาดา
สมาคมบาลีปกรณ์ ประเทศอังกฤษ
สถาบันวิจัยพุทธศาสนา นครโตเกียว ญี่ปุ่น
จัดทำเป็น “โครงการวิจัยเชิงพุ่งเป้า”
แบ่งแยกเป็น
๑. โครงการสำรวจและอนุรักษ์คัมภีร์โบราณ
๒. โครงการปริวรรตอักษรสิงหล พม่า เมือง ลาว ขอม
มอญ เป็นอักษรไทย
๓. โครงการตรวจชำระ
๔. โครงการแปลเป็นไทย
๕. โครงการแปลเป็นอังกฤษ
๖. โครงการแปลเป็นภาษานานานาชาติ
 
เมื่อช่วยกันทำงาน
วงวิชาการพุทธศาสนาเถรวาท
ก็จะได้ “ผลผลิต” คือ “ผลงาน”
เป็น “คัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท” สายต่างๆ
ตั้งแต่
พระวินัยปิฎก
พระสุตตันปิฎก
พระอภิธัมมปิฎก
พร้อมอรรถกถา ฎีกา อนุฏีกา คัณฐี โยชนา นิสสยะ
รวมถึง “เครื่องมือค้นคำและความอธิบาย ตีความ
ขยายความของพระไตรปิฎก” เรียกรวมว่า
“คัมภีร์สัททาวิเสส” ซึ่งมีสูตรเฉพาะตน รวม ๘ ฉบับคือ
๑. มหานิรุตติ ๒. จูฬนิรุตติ
๓ โพธิสัตตไวยากรณ์ ๔. สัพพคุณากรไวยากรณ์
๕. กัจจายนไวยากรณ์ ๖. โมคคัลลานะไวยากรณ์
๗. สัททนีติไวยากรณ์ ๘. สัททสังคหะ
 
ลำดับที่ ๘ “สัททสังคหะ” ผมพยายามหา
“ต้นฉบับ” มาเผยแพร่จัดพิมพ์ เป็นอักษรไทย
ทราบว่าแต่งโดย “อูโบหล่าย” มหาอำมาตย์
ที่ปรึกษาของพระเจ้ามินดง อิงกับคัมภีร์สันสกฤต
“คัมภีร์สิทธานตเกามุที” เป็นหลัก
มีสูตรกวา ๕ พันสูตร ยังไม่ได้รับตีพิมพ์เผยแพร่
 
——
 
ป.ธ. ๙ และดร.
นักวิชาการ
ซึ่งมีอยู่เป็นอันมาก
น่าที่จะระดมทีมทำการใหญ่ได้สบาย
ขอให้มหาเถรสมาคมดำริและจัดทำโครงการ
“จัดทุน” และ “จัดงบประมาณ” ให้ด้วย
อย่าใช้นโยบายเก่าๆ เดิมๆ
ใช้คนทำงานฟรี เพื่อพระพุทธศาสนา
เพราะงานจะไม่บังเกิด
 
มอบนโยบายด้วย
มอบงานด้วย
มอบทีมด้วย
มอบเงินด้วย
มอบเครื่องมือด้วย
มอบสถานที่ด้วย
ก็จะเกิดผลงานที่ผมเรียกรวมว่า
“โชคดี”
 
—-
 
ที่ผมใช้คำว่า “โชคดี”
เพราะถ้าคนในชาติ
ที่เป็น “ชาวพุทธรุ่นใหม่”
ได้เรียนรู้ “พระไตรปิฎก”
ผ่าน “ภาษาบาลี”
ซึ่งเป็นภาษาที่รักษา “คำสอนพุทธ”
อายุเก่าแก่นับหลายพันปี
ก็จะไม่เครียด ไม่เป็นโรคจิต
 
ทุกวันนี้คนที่นิวยอร์ก โตเกียว กรุงโซล
เป็นต้น เป็น โรคจิต กันมาก
 
——-
 
คำสอนพุทธศาสนาสายเถรวาท
ไวยากรณ์บาลี
รองรับไว้ครบถ้วน
ทั้ง ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ
เมื่อทำเชื่อมโยงกับ
สายมหายาน และวัชรยาน
อนาคตอาจเปรียบเทียบกับ
ฮินดู เชน คริสต์ อิสลาม
ซิกข์ เต๋า ขงจื๊อ บาไฮ
โลกจะได้ประโยชน์จาก “ศาสดา” ต่างๆ
 
ถ้าคนที่อยากโชคดี
อยากร่ำ
อยากรวย
อยากสำเร็จ
อยากมีลาภ
อยากมีตำแหน่ง
อยากมีความสุข
อยากมีเกียรติ
ก็ควรเปิดใจ เปิดโอกาส
เรียนรู้ “ไวยากรณ์บาลี”
และพอรู้ก็อย่าหยุด
ให้ใช้ “คัมภีร์ต่างๆ” ที่ทางมหาเถรสมาคม
จัดทำเป็น “โครงการวิจัยเชิงพุ่งเป้า”
แบ่งแยกเป็น
๑. โครงการสำรวจและอนุรักษ์คัมภีร์โบราณ
๒. โครงการปริวรรตอักษรสิงหล พม่า เมือง ลาว ขอม
มอญ เป็นอักษรไทย
๓. โครงการตรวจชำระ
๔. โครงการแปลเป็นไทย
๕. โครงการแปลเป็นอังกฤษ
๖. โครงการแปลเป็นภาษานานานาชาติ
 
นำ “เครื่องมือที่เป็นผลผลิต” โครงการทั้ง ๖
ใช้ช่วยให้เล่าเรียน “บาลี”
ง่ายยิ่งกว่าเดิม
เร็วกว่าเดิม
สะดวกกว่าเดิม
ดีกว่าเดิม
ประหยัดเวลาลงกว่าเดิม
 
ถ้าคนไทย
นอกเหนือจากพระสงฆ์
ช่วยกันศึกษาพระปริยัติธรรม
คือพระไตรปิฎก
และคัมภีร์ประกอบต่างๆ
จนมีความรู้ ความเข้าใจ
ถูกต้องและถ่องแท้
ตรงตามคำสอนพระพุทธเจ้า
ก็จะกลายเป็น
“สังคมคนมีความคิดอ่าน”
เป็นนักคิดที่เป็นสัมมาทิฐิ
และเมื่อนำไปผนวกกับ
“องค์ความรู้” วิทยาการสาขาต่างๆ
ก็จะเกิดคุณภาพ
สอดคล้องกับทฤษฎี
และการปฏิบัติ
ที่นำไปสู่การลดละเลิก
 
ทำให้มี “ปัญญา”
ขบคิดธัมมะได้ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น
 
—–
 
คนที่ผมนิยมว่า “โชคดี”
ผมเรียกคนใจบุญสุนทาน
คือคนที่ได้เรียนรู้เอง
หรือได้สนับสนุนคนอื่น
ให้ช่องทาง
ให้โอกาสคนอื่นได้เรียนรู้
ความรู้ทางบาลีไวยากรณ์
แล้วใช้เป็นเครื่องมือ
ค้นคว้าพระไตรปิฎก
ทรงจำ กล่าว บอก สอน เผยแผ่
โดยเฉพาะพระไตรปิฎก
ตลอดทั้ง “การปฏิบัติธัมมะ”
มุ่งเพื่อ ลด – ละ – เลิก เป็นสำคัญ
 
ไม่ใช่เรียนแล้ว
“เพ้อ” ยกตนข่มท่าน
หิ่งห้อยท้าทายสุริยันจันทรา
เหมือน ดร. บางคน
คิดสร้างสรรค์ สร้างผลงานไม่เป็น
ต้องให้ไปฝึกคิด ฝึกทำ
กับคนระดับแค่ น.ธ. เอก
จะได้สลายอัตตา
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1448810538615540&id=100004598221576
 
บอกตรง
คนที่คิดเป็นและคิดได้
แยกเป็น ๒ สาย
สายวิชาการ กับสายวิชาชีพ
อย่างรายนักธรรมเอก
ท่านเป็นสายวิชาชีพ
 
คนที่เรียนจบ ดร. แล้ว ยัง “ไปไม่เป็น”
ให้อ่าน “ท่าน น.ธ. เอก” แล้วขบคิด
ก็จะพบกับคำว่า “โชคดี”
 
——
 
ส่วนผม
ชะตา วาสนาคนละแบบ
ทำบุญ สั่งสมบุญมา ไม่เท่ากัน
จะให้ผมคิดและทำแบบท่าน น.ธ. เอก
บอกตรง มิบังอาจ มิสามารถ
ปลากระป๋อง นานๆ ครั้ง ก็พอได้
คือเป็นคนมี “สุนทรียะ” ในการใช้ชีวิต
ถ้าอยากเลือก “Uthit Way”
วีถีอุทิส
ก็ “ชิม ชิล ชิว”
 
วิถีแห่งการบรรลุธรรม
ไม่เหมือนกัน
มีหลายแบบ
 
——–
 
การศึกษาที่แท้จริง
ซึ่งอเมริกาและยุโรป
รวมถึงมหาวิทยาลัยในไทย
ก็ยังล้มเหลว
สะท้อนได้จาก
คนมีการศึกษา
คนมีวุฒิการศึกษา
ทว่า “โชคร้าย”
น่าเสียดายที่ “ไม่ได้”
โอกาสอ่าน “พระไตรปิฎก”
ไม่ได้ “เข้าวัด” ปฏิบัติ
 
“สถิติโรคซึ้มเศร้า”
“สถิติคนฆ่าตัวตาย”
ฆ่าตัวตายเพราะติดการพนัน
เสพสุราเกินเลยกว่าที่ร่างกายจะรับได้
คนที่ไม่ได้ทำงาน
ในตำแหน่งที่ชอบ
ก็ยังมีให้เห็น
ในสังคมไทย
ในเวลานี้
ทั้งที่มีวัดวาอารามมากมายถึง ๓๐,๐๐๐ กว่าแห่ง
 
วัดเลยเป็นได้แค่
“ศาลาสวดศพ”
และ
“เมรุเผาผี”
 
เกิดและตาย
โดยไม่มีโอกาส
พบพานคำว่า
“โชคดี”
ที่ได้เกิดเป็นคนไทย
ใต้ร่มเงาบวรพระพุทธศาสนา
 
หมดโอกาส
ทำบุญทำทาน
เพื่อประโยชน์ตนเอง
ประโยชน์ครอบครัว
ประโยชน์สังคม
ประโยชน์ชาติ
ประโยชน์ในโลกนี้
ประโยชน์ในโลกหน้า
 
—–
 
สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
ธัมมทาน ชนะ ทุกทาน

Comments

comments