๒๔๔. วิชาการอาถรรพณ์ และบทวิเคราะห์คำในพระไตรปิฎก “ปโรสหสฺสํ”

๒๔ กันยายน ๒๕๖๒

วิชาการอาถรรพณ์ และบทวิเคราะห์
คำในพระไตรปิฎก “ปโรสหสฺสํ” 

อุทิส ศิริวรรณ
เขียน

——

ปรับแก้นิดเดียว
ก็เป็นตัวอย่าง
“บทความวิชาการวิจัยคัมภีร์พระไตรปิฎก”

ดังที่บอก ตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ ถึงปัจจุบัน
ผม “ทุ่มเท” ความคิดอ่าน
มุ่งรับใช้ “พระ – เทพ – เจ้า” ตามที่ผมสัทธา

ไม่สนใจ “งาน” ในวงการอื่นๆ

ตอนนี้ มุ่งอธิบายคำ “ปโรสหสฺสํ”
ค้นคว้าและเขียนเป็น “วิทยาทาน”
ผู้ที่อ่าน “พระไตรปิฎกบาลี” จะได้รับคุณค่า และแสงสว่างแห่งปัญญามาก

 

ลงไว้ให้อ่าน และอนุโมทนาบุญกันในวงกว้าง

สาธุ สาธุ สาธุ

——-

ผมว่า
พระบาลีคือพระไตรปิฎก
ก็เป็นของสูง

ใครเรียนแล้ว
ตีความผิด
ใช้ผิด

ก็มีอันเป็นไป
แพ้ภัยตนเอง
แพ้ใจตนเอง

ไม่ต่างจาก
สายสะพาย
เครื่องราชชั้นสูง

ว่างๆจะยกตัวอย่าง
คนที่เรียนบาลีแล้ว
เจออาถรรพณ์บาลีก็มี
ฆ่าตัวตายก็มี
ถูกถอดยศปลดจากตำแหน่งก็มี
เป็นหนี้เป็นสินก็มี
มีวิชชา แต่อาจาระไม่มี
ก็มี

เรียนจบประโยค ๙ แล้ว
ติดคุกติดตะราง

เสียผู้เสียคนก็มี

แต่ถ้าใครเรียนด้วยใจสัทธา
ชะตาชีวิตก็พลิกผัน

จากดินก็กลายเป็นดาว

อย่างเจ้าประคุณ
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ปยุตโต
เป็นต้น

——

เล่าที่กำลังค้นคว้า
ประเด็นวิจัย
คำและความในพระไตรปิฎก
ที่ผมสนใจ คือคำว่า
“ปโรสหสฺสํ”
—–

ต้องยอมรับว่า
“พระบาลี”
ยังคงเป็นคำและความที่ “ยาก” และ “ลุ่มลึก”
คือ “อัตถะ” กับ “พยัญชนะ”
แม้จะเพียงแค่พยัญชนะ ๓๓ ตัวอักษร
กับสระอีก ๘ ตัว

ทว่า “พระบาลี”
มีนัยลึกซึ้ง ยิ่งนัก

ผมมักบอก
ประโยค ๙ รุ่นหลังๆว่า
ความรู้ประโยค ๙
เป็นแค่ใบเบิกทาง
อย่าหยุดที่จะค้นคว้า
นัยที่สุขุมลุ่มลึก

จบ ๙ ประโยคแล้ว
ต้องอ่านพระไตรปิฏก
เรียนต่อ
สันสกฤต
พุทธสันสกฤต
ปรากฤต
อังกฤษ
เยอรมัน
ฝรั่งเศส
รัสเซีย
จีน ทิเบต ญี่ปุ่น
คัมภีร์สัททาวิเสส
ค้นคว้า
วิทยาการวิจัยบาลีชั้นสูง
ในเชิงเปรียบเทียบ
ต่อไป

ดังสตีฟจอบส์สรุปไว้
Stay Hungry
Stay Foolish
จงหิวโหย
จงโง่เขลา

ถ้าใจรักการค้นคว้า
ก็จะวิจัยจนแตกฉาน
เรียนรู้ได้
ละเอียด ลึกซึ้ง
ยิ่งๆขึ้นไป

โบราณจึงสรุปว่า
ถ้าไม่เรียนรู้คัมภีร์บาลีระดับ “สัททาวิเสส”
จะเหมือน “กระบือ” หลงทางในป่าลึก

เป็นความจริง และเป็นเรื่องจริง

เพื่อนผม “บางราย” เรียนบาลี
เป็น “บ้า” ไปเลยก็มี

และที่น่าทึ่ง เป็น “บ้า” ไปแล้ว
กลับมาเป็น “คน” ปกติ
และสอบจบ ป.ธ. ๙ จนได้ ก็มี

วันหน้าจะไปสัมภาษณ์
และนำมาเล่าสู่กันฟัง

ตอนนี้ยังบวชอยู่
จำพรรษาที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

โลกนี้ ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้

ท่านมหา ป.ธ. ๙ รูปนี้
มีบุญและมีกรรม ในตัว

แต่ได้สติกลับคืน
และวกกลับมาเรียนบาลีจนจบ ป.ธ. ๙ ได้
แสดงว่า “ท่าน” เป็นพระที่มีบุญมาก

——

ปโรสหสฺสชาตกํ
[๙๙] ปโรสหสฺสมฺปิ สมาคตานํ
กนฺเทยฺยุ เต วสฺสสตํ อปญฺญา
เอโกว เสยฺโย ปุริโส สปญฺโญ
โย ภาสิตสฺส วิชานาติ อตฺถนฺติ ฯ
ปโรสหสฺสชาตกํ นวมํ ฯ

อ้างอิง
พระไตรปิฎก บาลี (สยามรัฐ) เล่มที่ ๒๗
สุตฺตนฺตปิฏเก ขุทฺทกนิกายสฺส ชาตกํ ภาค ๑:เอก-จตฺตาลีสนิปาตชาตกํ
หน้าที่ ๓๒ ข้อที่ ๙๙

——-

คำแปล

[๙๙] คนโง่เขลาประชุมกัน แม้ตั้งพันคนขึ้นไป
พวกเขาไม่มีปัญญาพึงคร่ำครวญอยู่ตลอดร้อยปี
ผู้ใดรู้แจ้งเนื้อความแห่งภาษิต
ผู้นั้นเป็นบุรุษมีปัญญา
คนเดียวเท่านั้น ประเสริฐ.
จบ ปโรสหัสสชาดก

อ้างอิง
พระไตรปิฎกภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๗
สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
หน้าที่ ๓๓ ข้อที่ ๙๙

——

ประเด็นวิจัยคือ
คำว่า ปโรสหสฺสํ ในคาถาว่า
“ปโรสหสฺสมฺปิ” มีที่มาอย่างไร?

—–

อภิธานปฺปทีปิกาฏีกา
คาถาที่ ๗๐๔
วินิจฉัยไว้น่าสนใจว่า
อาทินา ปโรสหสฺสาทิ.
สตโต ปโร ปโรสตํ.
สหสฺสโต ปโร ปโรสหสฺสํ,
ปรสฺส ปุพฺพนิปาโต อภิธานา ปรสทฺทา
โอการาคโม.

จนถึงยุคดิจิทัล
ผมยังไม่พบ
“อภิธานปฺปทีปิกาฏีกา”
ฉบับแปลเป็นไทย
ฝากสถาบันบาลีพุทธโฆส
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นครปฐม
คณาจารย์และนิสิตระดับปริญญาเอก
ภาษาบาลี

ช่วยกัน “ปริวรรต” “แปล” “เรียบเรียง”
จะเป็นคุณูปการ
ต่อแวดวงวิชาการวิทยาการวิจัย
พระไตรปิฎกชั้นสูง ยิ่งนัก

——-

ผมฉุกคิดและสงสัย
คำว่า “ปโรสหสฺสํ”
มายาวนานนับ ๒๐ ปีเศษ

ที่ผม “กังขา” และ “สงสัย” คือ
ปโรสหสฺสํ
เป็น “ฉฏฺฐี ตปฺปุริสสมาส”
คือ
ปเรสํ สหสฺสํ = ปโรสหสฺสํ
ใช่หรือไม่?

ทว่า “คำถามวิจัย” ของผม
คำตอบที่ได้รับ “ไม่ตรง”
กับที่ผม “ตั้งคำถาม”

——

พระพุทธัปปิยเถระ
ได้รจนาคัมภีร์โบราณชื่อ
“ปทรูปสิทธิมัญชรี” เอาไว้

ล่าสุด
พระธัมมานันทมหาเถระ
อัครมหาบัณฑิต ได้ตรวจชำระ
และพระคันธสาราภิวงศ์
ได้แปลและอธิบายเอาไว้
เป็นภาษาไทย
ฉบับพิมพ์ ๘ มกราคม ๒๕๕๓
หน้า ๒๓๓ นับลงบรรทัด ๖

คัมภีร์ดังกล่าว
ได้ตอบ “คำถามวิจัย”
ผมเอาไว้
ชัดเจนมาก

“(คัมภีร์วารติกะที่เป็นสูตรเพิ่มของปาณินิ (อัยายะ ๒ ปาทะ ๑ สูตร ๓๙) ได้กล่าวถึง ปัญจมีตัปปุริสสมาส ที่มีการสลับระหว่างบทหน้าและบทหลัง คือ สตโต ปเร ปโรสตา (บุคคลมากกว่าหนึ่งร้อย), สหสฺสโต ปเร ปโรสหสฺสา (บุคคลมากกว่าหนึ่งพัน) ลง โอ อักษรอาคมในบาลี (สันสกฤต ใช้เป็น สุฑฺ อาคม คือ สฺ อาคมนั่นเอง โดยมีรูปสำเร็จเป็น ปรสฺศตาะ,
ปรสฺสหสฺราะ) ดังข้อความว่า
สตสหสฺสา ปเรนาติ วตฺตพฺพํ. สตโต ปเร ปโรสตา, สหสฺสโต ปเร ปโรสหสฺสา. ราชทนฺตาทิตฺตา ปรนิปาโต. นิปาตนา สุฑาคโม. ๒๑๖
“พึงกล่าวว่า สต และ สหสฺส ศัพท์เข้าสมาสกับ ปร ศัพท์ เช่น สตโต ปเร ปโรสตา (บุคคลมากกว่าหนึ่งร้อย), สหสฺสโต ปเร ปโรสหสฺสา (บุคคลมากกว่าหนึ่งหัน) มีการวางไว้เบื้องหลัง
เพราะเป็นราชทันตาทิคณะ ลง สุฑฺ อาคม ด้วยนิปาตนสูตร”

ราชทันตาทิคณะ คือ กลุ่มศัพท์ที่มี ราชทนฺต เป็นต้นที่สลับบทหน้าและบทหลังซึ่งเรียกว่าปทวิปัลลาส มีรูปวิเคราะห์ว่า ทนฺตานํ ราชทนฺโต (พระราชาของชาวทันตะ) ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์ปาณินิ (อัธยายะ ๒ ปาทะ ๒ สูตร ๓๑) ว่า ราชทนฺตาทีสุ ปรํ (บทหลังพึงมีใน ราชทนฺต ศัพท์ เป็นต้น) (มีรูปสันสกฤตว่า ราชทนฺตาทิษุ ปรมฺ)

๒๑๖ นฺยาสฺปทีปิกา คำอธิบายสูตร ๓๒๘

——–

คำ “ปโรสหสฺสํ”
ไม่พบคำอธิบาย
ในไวยากรณ์บาลีสนามหลวง

พอค้นคว้าจนเจอคำอธิบาย
ในชั้นคัมภีร์สัททาวิเสส
ซึ่งประกอบด้วย
๑. คัมภีร์ไวยากรณ์บาลี
๒. คัมภีร์นิคัณฑุ
๓. คัมภีร์ฉันท์
๔. คัมภีร์เกฏุกะ เป็นต้น
ก็ได้ข้อค้นพบว่า
การจะศึกษาคัมภีร์บาลีให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง
ยากจะหลีกเลี่ยง และต้องยอมรับความจริงว่า
คัมภีร์ฝ่ายบาลีที่บูรพาจารย์ได้รจนาไว้
เพื่ออธิบายศัพท์ คำและความในพระไตรปิฎก
อันประกอบด้วย “ธาตุ” และ “ปัจจัย” เป็นต้น
ซึ่งนอกเหนือจาก “พระบาลี” คือพระไตรปิฎกแล้ว
ยังมีคัมภีร์อธิบาย นับเป็นชั้นๆ เรียงลำดับดังนี้
คัมภีร์อรรถกถา
คัมภีร์ฎีกา
คัมภีร์อนุฏีกา
คัมภีร์คัณฐี
คัมภีร์โยชนา
คัมภีร์สัททาวิเสส

โลกของภาษาบาลี
ลุ่มลึก ลึกซึ้ง และกว้างใหญ่ ไพศาล
ดุจดังมหาสมุทร

——

ผมค้นคว้าหา “คำอธิบาย”
เพื่อตอบ “คำถามวิจัย”
คือที่มาของคำว่า
“ปโรสหสฺสํ”
ได้ข้อพบว่า
จำเป็นต้อง
ค้นคว้าจาก
วิทยาการวิจัยคัมภีร์บาลีไวยากรณ์
คือสัททาวิเสส ซึ่งเป็นความรู้พุทธศาสนาชั้นสูง
จึงจะไม่ “ตีความ” คำและความ
อันอาจเข้าข่าย “ตู่พระพุทธพจน์”
หรือ “อธิบาย” พระบาลีผิดๆ

—–

หลักฐานที่นำมาจาก
อภิธานปฺปทีปิกาฏีกา
ปทรูปสิทธิมัญชรี
นฺยาสปทีปิกา
รวมถึงคัมภีร์ “วารฺติกะ”
ซึ่งเป็นสูตรเพิ่มเติมของ “ปาณินิ”
ยังคงหาอ่านได้ยาก ในสยามประเทศ
แปลว่าไม่มีฉบับเต็มให้อ่านกัน

ถ้ามหาเถรสมาคม
มมร
มจร
มูลนิธิ ภูมิพโลภิกขุ
และมหาวิทยาลัยต่างๆ
เช่น จุฬาฯ ศิลปากร มช บูรพา ราชภัฏ
ช่วยกันคิดอ่าน ช่วยกันแต่งแปล เรียบเรียง
จะเป็นคุณูปการต่อการศึกษาพระพุทธศาสนายิ่งนัก

พอกลับไปอ่าน “ปโรสหสฺสชาตกํ”
อีกรอบ

จะพบว่า “เลิกสงสัย”
คำว่า “ปโรสหสฺสมฺปิ”
กับ เต อปญฺญา

โดยเฉพาะ
เกร็ดความรู้
“ปทวิปัลลาสะ”
คือ “วาง”
ปร กลับหลัง
เหมือน “ราชทนฺตา”
อ่านกลับหลังเป็น
ทนฺตราชา

ปรสหสฺสํ
ก็ต้องเป็น
สหสฺสโต ปเร

สรุปข้อค้นพบ
จากคัมภีร์บาลีไวยากรณ์
ชั้นสัททาวิเสส

ปโรสหสฺสํ
เป็น “ปัญจมีตัปปุริสสมาส”

——

อ่านอีกครั้ง
จะพบว่า
“เข้าใจ”
พระไตรปิฎก
ชัดเจนยิ่งขึ้น

นี่คือเหตุผลสำคัญ
ที่ผมและทีม
ต้องรวมตัวกัน
ทำ “พจนานุกรมคัมภีร์บาลีเถรวาท”
ความหนา ๒๐ เล่ม เป็นอย่างน้อย

และจะเร่งให้เสร็จ “ระยะแรก” ในปี ๒๕๖๓

——

ปโรสหสฺสชาตกํ
[๙๙] ปโรสหสฺสมฺปิ สมาคตานํ
กนฺเทยฺยุ เต วสฺสสตํ อปญฺญา
เอโกว เสยฺโย ปุริโส สปญฺโญ
โย ภาสิตสฺส วิชานาติ อตฺถนฺติ ฯ
ปโรสหสฺสชาตกํ นวมํ ฯ

อ้างอิง
พระไตรปิฎก บาลี (สยามรัฐ) เล่มที่ ๒๗
สุตฺตนฺตปิฏเก ขุทฺทกนิกายสฺส ชาตกํ ภาค ๑:เอก-จตฺตาลีสนิปาตชาตกํ
หน้าที่ ๓๒ ข้อที่ ๙๙

——-

คำแปล

[๙๙] คนโง่เขลาประชุมกัน แม้ตั้งพันคนขึ้นไป
พวกเขาไม่มีปัญญาพึงคร่ำครวญอยู่ตลอดร้อยปี
ผู้ใดรู้แจ้งเนื้อความแห่งภาษิต
ผู้นั้นเป็นบุรุษมีปัญญา
คนเดียวเท่านั้น ประเสริฐ.
จบ ปโรสหัสสชาดก.

ประเด็น
“แม้ตั้งพันคนขึ้นไป”
Even up to one thousand
น่าจะแปลว่า
“แม้มากกว่าพันคน”
Even more than one thousand

จะตรงความหมายกว่า
ใช่หรือไม่?