๒๔๘. ปราชญ์บาลีฝรั่งกับผลงานทำพจนานุกรมบาลี

“ปราชญ์ฝรั่งกับผลงานทำพจนานุกรมบาลี” ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ แต่งแปลเรียบเรียงเป็นภาษาไทย ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ****** จิตสัทธา เขียนไว้เพื่อบูชาพระคุณบุรพาจารย์ครูบาลียุโรป ที่โลกลืม เนื่องในวาระสำคัญที่อีก ๓ ปีข้างหน้า ในวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ จะเป็นวันครบรอบ ๒๐๐ ปี  ปราชญ์บาลีชาวเดนมาร์ก นามว่า วี. เทรงก์เนอร์ ภาพที่ ๑ วี. เทรงก์เนอร์ : ปราชญ์บาลีชาวเดนมาร์ก ผู้มีชีวิตอยู่ระหว่าง ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๓๖๗ ถึง ๙ มกราคม ๒๔๓๔ ตอน ๑ ——– ไดนส์ แอนเดอร์สัน กรุงโคเปนเฮเกน ได้เขียน “อัตชีวประวัติ” ของ วี. เทรงก์เนอร์เอาไว้ ในวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ […]

๒๔๗. บทความวิจัย “สถานการณ์พุทธศาสนาในโลกตะวันตก”

บทความวิจัย “สถานการณ์พุทธศาสนาในโลกตะวันตก”ตีพิมพ์ในวารสารธรรมธารา ฉบับเดือนมิถุนายน ๒๕๖๒ คลิกดาวน์โหลดได้ที่ลิงก์นี้https://www.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/160787/115929 คลิกอ่านจากวารสารธรรมธาราออนไลน์ https://www.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/16078

๒๔๖. บทความวิชาการพระไตรปิฎกศึกษา ตอน ๑ “คัมภีร์พุทธวงศ์และคัมภีร์มธุรัตถวิลาสินี”

๔.๑๐.๒๕๖๒ บทความวิชาการ พระไตรปิฎกศึกษา ตอน ๑ “คัมภีร์พุทธวงศ์และคัมภีร์มธุรัตถวิลาสินี” อุทิส ศิริวรรณ เขียน   สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ ให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง —— เมื่อ “อายุ” ล่วงเลยมาถึงวันเวลาอันเหมาะสม ผมก็มีเวลา “เรียนรู้” ปริยัติคือพระไตรปิฎก ที่สนใจและอยากศึกษา ทว่า “ชีวิต” และ “โชคชะตา” ที่ขับเคลื่อนด้วย “ความไม่มั่นคง” และ “ความไม่แน่นอน” ทำให้ผมต้องหันไปทำการอื่นๆ เพื่อสร้างตัว สร้างฐานะ สร้างรายได้ จนมั่นคงระดับหนึ่ง จึงมีเวลาศึกษา “ปริยัติ” คือ “พระไตรปิฎก” —— ผมอาจมีอุปนิสัย เหมือนนักอักษรศาสตร์ทั่วไป คือเวลาอ่าน “ตำราหลัก” หนังสือหนัก หนา และเนื้อหาลุ่มลึก เข้าใจยาก อย่าง “พระไตรปิฎก” ผมจะชอบอ่านที่เป็น “ตัวเล่ม” ไม่ชอบอ่าน “อีบุ๊ก” […]

๒๔๕. บทวิเคราะห์คำบาลี “บุญ”

บทวิเคราะห์คำบาลี “บุญ“ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๒ สนใจอยากจะ วิเคราะห์ความหมาย ของคำว่า “บุญ” เป็นวิทยาทานและธัมมทาน ยามค่ำคืน สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ ให้ธัมมะ ย่อมชนะ ทานทุกชนิด อุทิส ศิริวรรณ เขียน —– หลักฐานที่ค้นพบ “ปญฺญายติ เตนาติ ปุญฺญํ, กุลรูปมหาโภคิสฺสริยวเสน ปญฺญายตีติ อตฺโถ ฯ กรรม (คือการกระทำ) ที่ชื่อว่าบุญเพราะวิเคราะห์ว่า เป็นเหตุปรากฏแห่งความดี, อธิบายว่า ปรากฏด้วยอำนาจแห่งตระกูล รูปร่าง ความมีทรัพย์สินมาก และความเป็นใหญ่ ฯ ปุนาตีติ วา ปุญฺญํ ฯ อีกนัยหนึ่ง กรรมใดย่อมชำระ (จิตใจให้บริสุทธิ์) เพราะเหตุนั้น กรรมนั้นชื่อว่าบุญ (บุญ แปลว่า ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์) สพฺพกุสลมลรชาปวาหกตฺตา ปุญฺญํ กมฺมํ เยสํ […]

๒๔๔. วิชาการอาถรรพณ์ และบทวิเคราะห์คำในพระไตรปิฎก “ปโรสหสฺสํ”

๒๔ กันยายน ๒๕๖๒ วิชาการอาถรรพณ์ และบทวิเคราะห์ คำในพระไตรปิฎก “ปโรสหสฺสํ”  อุทิส ศิริวรรณ เขียน —— ปรับแก้นิดเดียว ก็เป็นตัวอย่าง “บทความวิชาการวิจัยคัมภีร์พระไตรปิฎก” ดังที่บอก ตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ ถึงปัจจุบัน ผม “ทุ่มเท” ความคิดอ่าน มุ่งรับใช้ “พระ – เทพ – เจ้า” ตามที่ผมสัทธา ไม่สนใจ “งาน” ในวงการอื่นๆ ตอนนี้ มุ่งอธิบายคำ “ปโรสหสฺสํ” ค้นคว้าและเขียนเป็น “วิทยาทาน” ผู้ที่อ่าน “พระไตรปิฎกบาลี” จะได้รับคุณค่า และแสงสว่างแห่งปัญญามาก   ลงไว้ให้อ่าน และอนุโมทนาบุญกันในวงกว้าง สาธุ สาธุ สาธุ ——- ผมว่า พระบาลีคือพระไตรปิฎก ก็เป็นของสูง ใครเรียนแล้ว ตีความผิด ใช้ผิด ก็มีอันเป็นไป แพ้ภัยตนเอง […]

๒๔๓. ข้ออรรถ ข้อธรรม “การวิจัยซ้ำผลของทฤษฎีการฝึก ๑๐,๐๐๐ ชั่วโมง”

๒๖.๙.๒๕๖๒ ข้ออรรถ ข้อธรรม “การวิจัยซ้ำ ผลของทฤษฎีการฝึก ๑๐,๐๐๐ ชั่วโมง” อุทิส ศิริวรรณ เขียน  ——- เวลานี้ นักวิจัย ฝรั่งตะวันตก กำลังทดสอบ เพื่อหาหลักฐาน ยืนยันว่า ทฤษฎีการฝึกฝน การฝึกหัด การฝึกซ้อม การฝึกอบรม อย่างน้อย ๑๐,๐๐๐ ชั่วโมง จึงจะผ่านการรับรองผลว่า สิ่งที่ทำลงไป สำเร็จ สำเร็จ สำเร็จ พิสูจน์แล้วว่าได้ผลดีจริงหรือไม่? ประเด็นวิจัยดังกล่าว สืบเนื่องจาก แนวคิด ๒ แนวคิดที่ปะทะกัน ระหว่าง การเรียนรู้โดยธรรมชาติ คือลองผิดลองถูกก็เป็นเอง กับอีกแนวคิด คนจะมีความรู้ความสามารถได้ ต้องผ่านกระบวนการ และขั้นตอนการฝึกฝน ฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติ ฝึกหัด และฝึกหนัก จึงจะเป็นคนเก่ง คำตอบล่าสุด น่าสนใจ ผลการวิจัยโดยทดสอบซ้ำพบว่า บางวงการ ฝึกแค่ ๒๐๐ ถึง ๕๐๐ […]

๒๔๑. โชคดีที่เกิดเป็นชาวสยาม เงินน้อยของหลวงพ่อคูณ บุญคือการเล่าเรียนพระไตรปิฎก

๒๓.๙.๒๕๖๒ ข้ออรรถ ข้อธรรม ในภาพถ่ายที่อนุสาวรีย์ “ลินคอล์น” ผมชอบ “วิถีการต่อสู้” ของประธานาธิบดีท่านนี้ เป็น Hero ในดวงใจผม คล้าย “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” “โชคดีที่เกิดเป็นชาวสยาม” อุทิส ศิริวรรณ —— สรุปว่า “แต่ละชีวิต” มี “โชคดี” ไม่เหมือนกัน สั้นๆ ง่ายๆ และทุกชีวิต ก็เหมือนกัน ต้อง “ต่อสู้” ด้วยมันสมอง สองมือ กว่าจะได้มาซึ่ง “ผลงาน” ——–   ค่อนวัน ผมนั่งรับฟังเรื่องราว การต่อสู้ชีวิต และโชคชะตา ของหญิงตัวคนเดียว เจ้าของร้านอาหารไทย Thanya Thai Cuisine ก่อนจากกัน เธอร่วมทำบุญ ๒๐ บาทไทย พนมมือ “สาธุ”   ผมย้ำกับเธอว่า อยาก “รวย” จริง ให้หมั่น […]

๒๔๐. เล่าเรื่องงานวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนาในรอบ ๑๕ ปี ๒๕๖๐-๒๕๗๕

  เล่าเรื่องงานวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนาในรอบ ๑๕ ปี ๒๕๖๐-๒๕๗๕ อุทิส ศิริวรรณ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๒ ——— หลังทำงานวงการต่างๆ ตั้งแต่ปี ๒๕๓๗-๒๕๕๙ รวม ๒๒ ปี ทั้งงานบริหารกิจการ งานวิชาการ งานสอน งานวิจัย สายบริหารธุรกิจ และบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยในไทยและต่างแดน ผมก็มาถึงความรู้สึกอิ่มตัว ในปี ๒๕๕๙ หรือเมื่อ ๔ ปีก่อน สืบเนื่องจาก “เบื่อหน่าย” การปั้นคน การสร้างคน โดยเฉพาะ “ศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย” ผมพบว่า “ผม” ไม่ใจเย็นพอ และ “คน” ที่ผมคิดว่าจะสร้าง ให้เป็นคนมีคุณค่า คือมีคุณวุฒิ คุณภาพ และคุณธรรม บางรายที่ “สนิทสนม” “คุ้นเคย” และ “ไว้วางใจ” ว่าจะเป็น “คนใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม” ที่ไหนได้ […]

๒๓๙. ความสำเร็จไม่มีลางบอกเหตุ ความล้มเหลวไม่มีนิมิตหมาย

๑๑.๙.๒๕๖๒ ข้ออรรถ ข้อธรรม “ความสำเร็จไม่มีลางบอกเหตุ ความล้มเหลวไม่มีนิมิตหมาย” อุทิส ศิริวรรณ เขียน  ——- เรื่องราวที่จะยกมาเป็น “กรณีศึกษา” คนสู้ชีวิตต่อไปนี้ เป็นเรื่องราวของ “ปาโบล เอสโกบาร์” มหาเศรษฐีเจ้าของฉายา “ราชาโคเคน” ที่ติดอันดับ ๗ มหาเศรษฐีของโลกติดๆ กันถึง ๗ ปี ตั้งแต่ปี ๑๙๘๗-๑๙๙๓ ขณะอายุน้อยมากเพียงแค่ ๓๘-๔๔ ปี ในไทย เราอาจไม่คุ้นเคย คุ้นหูชื่อของชายคนนี้ แต่ที่นิวยอร์ก ชื่อเสียงของเขาโด่งดังมาก คนในวงการธุรกิจรู้จักเขาดี จากสินค้าชื่อดังของเขา ซึ่งยังคงขายดิบขายดีกระทั่งถึงบัดนี้ นั่นคือ “โคเคน” ซึ่งเหนือชั้นกว่า “กัญชา” —– ทุกวันนี้ ผมครุ่นคิดว่า “ทุกความสำเร็จ มีลางบอกเหตุชัดเจนหรือไม่” คำตอบคือ “ไม่มี” ทุกวันนี้คนเรามี “ช่วงแห่งชีวิต” คล้ายคลึงกัน เรียนหนังสือ ทำงาน แต่งงาน หรือไม่แต่งงาน มีครอบครัว […]

1 2 3 4 5 28