๒๓๘. “กฎ ๑๐,๐๐๐ ชั่วโมง ผลการฝึกฝน การฝึกหัด การฝึกอบรม และการเพาะบ่มนิสัยคนมีสมรรถนะสูง”

๙.๙.๒๕๖๒ ข้ออรรถ ข้อธรรม “กฎ ๑๐,๐๐๐ ชั่วโมง ผลการฝึกฝน การฝึกหัด การฝึกอบรมและการเพาะบ่มนิสัยคนมีสมรรถนะสูง” อุทิส ศิริวรรณ —— ผมสนใจหลักธัมมะ ข้อว่าด้วย “วิริยะ” แปลว่า “ความพยายาม” เวลาอ่าน “กฎเกณฑ์” “หลักการ” “สมการ” และ “ทฤษฎี” นานาชาติ ผมก็ชอบอ่านหนังสือแนว “วิริยะ” —– ผมเคยคิดเล่นๆ ไม่คิดจริงจังว่า ในยุคดิจิทัล เราสามารถ “ฝึกฝน” “ฝึกหัด” และ “ฝึกอบรม” เพาะบ่ม “คนผู้หนึ่ง” ให้กลายเป็น “คนมีนิสัยที่มีสมรรถนะสูง” ได้หรือไม่? เวลานี้ ทุกวงการต้องคิดอ่าน และหาหนทางสร้าง “คน” ขึ้นมาเป็น “คนมีสมรรถนะสูง” เป็นตัวตายตัวแทนของ “คนที่มีสมรรถนะสูง” ในวงการนั้นๆ —– ถ้าตอบตามหลักวิทยาศาสตร์ จนถึงขณะนี้ “การฝึก” ในระบบ นับเป็นชั่วโมงแบบที่เรียกว่า […]

๒๓๗. “สมการชีวิต : ความรู้+ความสามารถ+เกียรติยศ+อำนาจ+เงินตรา”

๑๘.๘.๒๕๖๒ ข้ออรรถ ข้อธรรม “สมการชีวิต : ความรู้+ความสามารถ+เกียรติยศ+อำนาจ+เงินตรา”   อุทิส ศิริวรรณ เขียน —– คำสำคัญ “จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์” “จอมพล ป. พิบูลสงคราม” “ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์” “เจริญ กนกรัตน์” “สังข์ พัธโนทัย” “สังเวียร มีเผ่าพงษ์” “สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) วัดชนะสงคราม” “เหตุผลที่ต้องเล่าเรียนสูงๆ” “สารลับโตเกียวถึงกวางเจา” “พระไทยไปเรียนอินเดีย รับนิมนต์ไปเยือนปักกิ่ง กลับไทยติดคุก ๔ ปี ๑๐ เดือน ๑๔ วัน เท่ากับเรียนปริญญาตรี ๑ ใบ” ปิดท้ายด้วย “คำให้การ” ของพลตรีสมบูรณ์ ศรานุชิต แกนนำก่อการรัฐประหาร “ต้องการปรับปรุงกองทัพบกเพราะเสื่อมโทรม ผู้บังคับบัญชาไม่เอาใจใส่ เพราะมัวแต่ไปยุ่งการค้าการเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของทหาร” —— […]

๒๓๖. ทำดีเอาหน้า สร้างภาพเอาเงิน

๑๖.๘.๒๕๖๒ ข้ออรรถ ข้อธรรม “ทำดีเอาหน้า สร้างภาพเอาเงิน” อุทิส ศิริวรรณ เขียน ——–   คนที่ใจบุญสุนทาน จิตใจจะคิดเพียงว่า “ให้” ดังนั้น คนที่ใจบุญสุนทาน พอทำบุญทำทานระยะหนึ่ง จะประสบพบพานกลุ่มคนที่เป็นปุถุชน ทั้งประเภท “เอาหน้า” และ “เอาเงิน” เป็นเช่นนี้ แต่ไหนแต่ไรมา  นับพันนับหมื่นปี ผู้รู้จึงสอนให้คนที่ชอบทำบุญทำทาน “วิจัย คัดเลือก เลือกเฟ้นแล้ว จึงทำทาน” สอนให้เกิด “หิริ ความละอาย” และ “โอตตัปปะ เกรงกลัวต่อบาป” อย่าทำตัวเป็นคนปราศจากหิริโอตตัปปะ อย่าทำตัวเป็น “คนกล้าเพียงดังกา” คือ “คล้ายกับอีกา” ไปไหนมาไหน ก็พูดพล่าม “ของกู ของกู” เดินตามหาแต่ “เงิน”  เปล่งเสียงร้องระงมรอบสารทิศว่า “เงินอยู่ไหน เงินอยู่ไหน” การทำบุญทำทานอันประกอบด้วยปัญญา คือการระลึกรับรู้ถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ของผู้ให้ ของผู้รับ […]

๒๓๕. คิดแบบฮาร์วาร์ด : การเพิ่มผลผลิตอย่างยิ่งยวด

คิดแบบฮาร์วาร์ด : การเพิ่มผลผลิตอย่างยิ่งยวด คอลัมน์   Get Idia 5.0 8.8.2562 ตลอดเดือนพฤษภาคมปีนี้ ผมใช้เวลาส่วนมากที่ Harvard Business School มีเวลา ผมจะเล่ารายละเอียดให้ฟัง วันนี้ ขอเล่าเพียงแค่บางส่วน ประเด็นที่เรียนรู้จากฮาร์วาร์ด และน่าสนใจคือ “แนวคิดการเพิ่มผลผลิตอย่างยิ่งยวด” หรืออังกฤษเรียกว่า extreme productivity ผมแปลสั้นๆ ง่ายๆ ว่า “แนวคิดการเพิ่มประสิทธิภาพในระดับที่เข้มงวด”  ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่ในวงการบริหาร เป็นคำศัพท์ใหม่ Robert Pozen ผู้นำเสนอแนวคิดนี้ เป็นเด็กมัธยมที่ไม่เอาไหน พ่อแม่ไม่เอาถ่าน แต่วาสนาชะตาคน มีปัญหาเรื่องเงินทอง รายได้เอาแน่เอานอนไม่ได้ ทว่าตนเอง ต่อสู้ พากเพียรพยายาม สุดท้ายได้ดิบได้ดี นอกจากเป็นอาจารย์สอนพิเศษ ที่คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดแล้ว ท่านผู้นี้ยังสอนกฎหมาย ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เป็นประธานบริหาร MFS Investment Fund Management กิจการลงทุนระดับโลก กรรมการบริหาร บริษัทมหาชน ๒ แห่ง […]

๒๓๔. ธัมมะที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ในวันวิสาขบูชา

บทความที่ ๒๓๔ ข้ออรรถ ข้อธรรม “ธัมมะที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ในวันวิสาขบูชา” อุทิส ศิริวรรณ เขียน —— ครั้งปฐมโพธิกาล ห้วงเวลาที่ตรัสรู้ครั้งแรก พระบรมครู ประทับนั่ง ณ ควงต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงเปล่งอุทาน  ภายหลังพระอานนท์สงสัยทูลถาม จึงตรัสเทสนาหลักธัมมะ คาถานี้ว่า “อเนกชาติสํสารํ” เป็นต้น ความย่อว่าพระศาสดานั้น ประทับ ณ โคนต้นโพธิ์ เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ตกดิน ได้ทรงมีชัยชนะ เหนือ “พระยามารและกองพลมาร” ทรงทำลาย ความมืดซึ่งปกปิด “ร่าง” ที่เคยอาศัยในชาติก่อนๆ ในปฐมยาม ทรงชำระตาทิพย์ในมัชฌิมยามจนใสสะอาด ทรงอาศัยความกรุณาในเหล่าสัตว์ทรงทำให้ญาณ หยั่งลงใน “ปัจจยาการ” (ปฏิจจสมุปบาท เพราะสิ่งนี้ จึงมีสิ่งนี้) ทรงพิจารณาญาณนั้นด้วยอำนาจ การคิดแบบอนุโลมและปฏิโลม ในปัจฉิมยาม ได้ตรัสรู้เฉพาะด้วยพระองค์เองซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ พร้อมด้วยเหตุมหัศจรรย์ทั้งหลาย ในเวลารุ่งอรุณ เมื่อจะทรงเปล่งอุทานซึ่งพระพุทธเจ้าหลายแสนองค์ ไม่เคยละทิ้ง จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า “ตัวเรา ออกแสวงหานายช่างสร้างบ้าน เมื่อยังไม่พบ ได้ท่องเที่ยวไปยังสังสารวัฏหลายภพชาติ การเกิดแล้วเกิดอีก […]

๒๓๓. เทคโนโลยีสั่นสะเทือนทุกวงการ

บทความที่ ๒๓๓ “เทคโนโลยีสั่นสะเทือนทุกวงการ Technology Disruption” —– ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒ —– ผมสนใจ มอง “โลก” กว้างๆ พยายามไม่จำกัดแค่ “สยาม” ซึ่งยังคงวนเวียนอยู่กับ กลุ่มคน “ขี้ขโมย” “ขอทาน” “ปรสิต” คล้ายสมัยสงครามเย็น ยุคที่คอมมิวนิสต์และทุนนิยม ปะทะกันดุเดือดในช่วงกึ่งพุทธกาล ——- วันนี้ “ความเชื่อ” กำลังถูกเทคโนโลยี “สั่นสะเทือน” อย่างน้อย ๒ เทคโนโลยี Robot เทคโนโลยีหุ่นยนต์ AI (Artificial Intelligence) เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ disrupt สั่นสะเทือน ทุกวงการ ในยุคนี้ แต่เมืองไทย ยังคงวนเวียน “แก้” และ “รื้อ” กฎหมาย ออก “กฎหมาย” เอื้อประโยชน์ พวกตน และพวกพ้อง ! ——- […]

๒๓๒. ข้ออรรถ ข้อธรรม “ปรสิต ขี้ขโมย และขอทาน”

  บทความที่ ๒๓๒ ๑๗.๕.๒๕๖๒ ข้ออรรถ ข้อธรรม “ปรสิต ขี้ขโมย และขอทาน” อุทิส ศิริวรรณ เขียน ——- ผมพูดเสมอๆ ว่า “แพ้เป็นโจร ชนะเป็นเจ้า” จะเอาชนะคนอาสัตย์อาธรรม์ได้ทุกวันนี้ นอกจากมือจะต้องไม่มีแผลแล้ว ยังต้องมี “ความคิดความอ่าน” ที่รู้เท่าทัน “กลุ่มคนที่มีปืน” “กลุ่มคนที่มีอำนาจ” ซึ่งนวนิยายเรื่อง Atlas Shrugged เรียกกลุ่มคนที่ได้รับประโยชน์ “ชนะเป็นเจ้า” แยกออกเป็น ๓ กลุ่ม กลุ่มแรก คือ ปรสิต กลุ่ม ๒ คือ ขี้ขโมย กลุ่ม ๓ คือ ขอทาน แนวคิด คน ๓ กลุ่มนี้ น่าสนใจ เพราะกำลังแพร่หลายในประเทศที่เผด็จการ มีอำนาจ ยุคนี้เป็นยุคที่ ตัวกู พวกกู ถูก ตัวมึง […]

๒๓๑. คอลัมน์ ข้ออรรถ ข้อธรรม

๒๓๑. ข้ออรรถ ข้อธรรม “มหัศจรรย์ – ปาฏิหาริย์ – อานุภาพ” อุทิส ศิริวรรณ —— ผมสนใจ “ความเฮง” และค้นพบว่า “มโนกรรม” มีความสัมพันธ์กับ “มหัศจรรย์ – ปาฏิหาริย์ – อานุภาพ” —–  

230. เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น ตอน ๒๐

๒๓๐. เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น ตอน ๒๐ จิตใจญี่ปุ่น เรียนรู้แบบตะวันตก อุทิส ศิริวรรณ เขียน ๘.๕.๒๕๖๒ —– วัฒนธรรมญี่ปุ่น วิเคราะห์ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่าเกิดจากการหลอมรวม ๒ คำสอนเข้าด้วยกัน กล่าวคือ “คำสอนพุทธศาสนา” กับ “คำสอนขงจื๊อ” เมื่อ “บูรณาการ” ๒ สิ่งเข้าด้วยกัน จึงมีอิทธิพล ส่งผลให้คนญี่ปุ่น มีจิตสำนึกเฉพาะตัว เป็นเอกลักษณ์แบบญี่ปุ่น มีวัฒนธรรมประเพณีแบบญี่ปุ่น มีแบบแผนแบบญี่ปุ่น มีนิสัยแบบญี่ปุ่น และมีมรรยาทแบบญี่ปุ่น รวมถึงมี “ความคิดอ่าน” แบบญี่ปุ่น ที่น่าสนใจศึกษาเรียนรู้ในประเด็น “สร้างคนให้มีคุณภาพ” แบบมาตรฐานของญี่ปุ่น หลังญี่ปุ่นเปิดประเทศเมื่อสิ้นยุคโชกุน ในสมัยเมจิ ตรงกับปีพุทธศักราช ๒๔๑๑-๒๔๕๕ การปฏิรูปในสมัยเมจิ รัฐบาลญี่ปุ่น มีแนวคิด มีเป้าหมายนำ “วัฒนธรรมตะวันตก” มาประยุกต์ใช้ ปรับการบริหารจัดการแบบญี่ปุ่นให้มีความทันสมัย และมีการทบทวน “วัฒนธรรมญี่ปุ่น” โดยเฉพาะ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม […]

229. เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น ตอน ๑๙

๗.๕.๒๕๖๒ เรื่องเล่าจากญีปุ่น ตอน ๑๘ เล่าเรื่องวิจัยทางการศึกษา “การจัดการ “คน” ให้มีคุณภาพแบบญี่ปุ่น” อุทิส ศิริวรรณ —— งานวิจัยเรื่อง “การสร้างคนคุณภาพแบบญี่ปุ่น” โดย ศาสตราจารย์วรินทร วูวงศ์ รองศาสตราจารย์ ดร. สุณีย์รัตน์ เนียรเจริญสุข  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปิยะนุช วิริเยนะวัตร์ และอาจารย์ยูคิเอะ ณ นคร  สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ งานวิจัยดังกล่าว ก็เหมือนหนังสือดีๆ ทั่วไปที่เก็บไว้ตามหิ้ง ไม่ได้ขึ้นห้าง ตีพิมพ์เผยแพร่ในปี ๒๕๖๒ นี้เอง จำนวนเพียงแค่ ๕๐๐ เล่ม เห็นว่าเนื้อหางานวิจัยสอดคล้องกับประเด็นที่ผมสนใจ จึงขอสรุปให้ฟังโดยย่อ ในหน้า ๖-๗ อาจารย์วรินทร และคณะ สรุปข้อค้นพบจากการเข้าไปสังเกตใกล้ชิด ๒ ครั้ง ในปี ๒๕๓๘ และ ๒๕๔๕ โดยเข้าไปเยี่ยม “โรงเรียนระดับประถมศึกษาของรัฐบาลญี่ปุ่น” […]

1 2 3 4 5 6 28